วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 (ภาค 1)

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
- เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการ ปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1. เทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology)
2. เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology)
3. เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology)
4. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology)
5. เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology)
6. เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology)
7. เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology)
8. เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology)

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและทัศนะ ทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Media or Physical Science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
3.1 การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
3.2 ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3.3 วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
3.4 การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
1. บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน, 2529: 108)
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ( Good. 1959: 191)
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ
- พลาโต ( Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต
- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี.2526 ซ 16)
- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ.2516:7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน(วีระ บุณยะกาญจน.2532:5)

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ต่อมาภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข้เพื่อให้รอดพันวิกฤตการณ์ และ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่นยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนทุกระดับ ตั่งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ ก้าวทันโลกยุตโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียงหมายถึง ความประมาณ ความมีเหตุ รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรแก่การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในประเทศ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า
". . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ. . ."
จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง "พอมีพอกิน"
". . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี. . ."
". . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. . ." ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า
. . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . . เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . . . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ เกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนว พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . . แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . ." ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล

โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทาน

(งานพัฒนาลำห้วยบ่อแดง ลำห้วยซาง)


จ.สกลนครสถานที่ดำเนินการ บ้านจาร หมู่ที่ 5 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร



พระราชดำริ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 นางประเพ็ญ ปลัดกอง กำนันตำบลม่วง นายศูนย์ทอง สมใจ กำนันตำบลหนองกวั่ง และนายจำปา สุวรรณไตร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงได้ร่วมกันกราบบังคมทูลถวายรายงานเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในเขตจังหวัดสกลนคร และขอพระราชทานพระมหากรุณา ขอสร้างฝายกั้นน้ำห้วยบ่อแดง เนื่องจากในฤดูฝนน้ำในลำห้วยบ่อแดงและห้วยซางไหลเร็วทำให้มีน้ำไม่เพียงพอทำการเกษตรในฤดูแล้ง ดังนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้จัดหาแหล่งน้ำในลำห้วยบ่อแดง ตามความเหมาะสม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการอุปโภค-บริโภค ของราษฎร รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์
2. เป็นการพัฒนาลุ่มน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็มให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เต็มศักยภาพ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ เป็นโครง การที่เริ่มทำการศึกษาและวางโครงการขึ้นตามแนวพระราชดำริในพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้น จึงพิจารณาดำเนินการก่อสร้างให้ สอดคล้องเพิ่มเติมนอกเหนือจากแผนงานพัฒนาหลักของแต่ละหน่วยราชการที่กำ หนดไว้ตามความเหมาะสม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรฯ เป็นงานส่วนใหญ่ของ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามพระราชดำริ โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงาน หลักทำการก่อสร้างสนองพระราชดำริ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนจนสามารถสนองความต้องการขั้นพื้น ฐานของราษฎร ในการจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในท้องที่ซึ่งขาด แคลนน้ำให้มีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกพืช สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนจัด หาน้ำให้กับราษฎรในเขตโครงการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอีกด้วย


มูลนิธิชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา"เพื่อสนับสนุน การช่วยเหลือประชาชน ในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การดำเนินงานนั้นๆถูกจำกัดด้วย เงื่อนไขดังที่ได้กล่าวไว้แล้วหรือดำเนินงาน ในลักษณะอื่นใด ที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วและไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคล ตามเลขทะเบียนลำดับที่๓๙๗๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๙ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรและโครงการพัฒนาอื่น ๆ
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และ ช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและให้สามารถช่วย ตัวเองและพึ่งตนเองได้
3. ดำเนินการใดๆอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม
4. ร่วมมือกับส่วนราชการและ องค์กรการกุศล อื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง

แนวทางการดำเนินการ
การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อน กับแผนงาน โครงการของรัฐที่มีอยู่แล้วแต่จะพยายาม สนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานการดำเนินงานเพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับสถานการณ์โดยเฉพาะ ในกรณีที่โครงการของรัฐ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไข ของกฏระเบียบต่างๆอันเป็นผลทำให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีเช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน เพื่อดำเนินงานตามโครงการหนึ่งแต่รัฐมีปัญหา ด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อหรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ หรือ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆทำให้ดำเนินการจัดซื้อไม่ได้ หรือต้องตั้งงบประมาณจัดซื้อ ใน ๑-๒ ปีข้างหน้าซึ่งจะทำให้โครงการล่าช้าไป เป็นต้นในกรณีเช่นนี้มูลนิธิชัยพัฒนา จะได้ช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพื่อให้โครงการนั้นๆ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการดังตัวอย่างข้างต้นอาจนับได้ว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ ของแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะเป็นนิติบุคคลสาธารณประโยชน์ที่จะเข้ามาประสานงานร่วมมือสนับสนุน โครงการพัฒนาของรัฐ อย่างสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้โครงการที่มีปัญหานั้นๆสามารถดำเนินงานไปได้ โดยก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และประเทศชาติ อย่างเต็มที่

โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์

โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทานเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2510 เพื่อตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น ต่าง ๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก
โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทานตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับความ ร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม
แพทย์พระราชทาน (แพทย์ประจำพระองค์)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มา รอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก


หน่วยแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส นิคมนี้มีสถานีอนามัย เพียงแห่งเดียว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นประจำ
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช ประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์ มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ แปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ในด้านศัลยกรรม และ รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และ เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์หู คอ จมูกเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยอาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์ เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อรักษาพยาบาลราษฎรยากจนที่เจ็บป่วย และไม่สะดวกที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลได้ โดยติดต่อแพทย์ จากโรงพยาบาลส่วนกลาง และรับแพทย์อาสาสมัครมาปฏิบัติงานที่ค่ายกาวิละ ในระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานประทับแรมอยู่ที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ มี โครงการตามพระราชดำริ 2 โครงการ คือ คณะแพทย์พระราชทาน การอบรม หมอหมู่บ้าน

โครงการหลวง

จากการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชาวเขาหลายหมู่บ้าน บริเวณดอยปุย เมื่อกว่า ๒๐ ปีมานี้ ทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย
ก่อนที่จะจัดตั้งโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรตามหมู่บ้านชาวเขาบริเวณดอยปุย ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงได้ทรงสนับสนุนงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาว โดยได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒ แสนบาท สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า สวนสองแสน) พร้อมทั้งทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตานุทูตพิจารณาให้ความช่วยเหลือ อันเป็นผลให้หลายประเทศให้ความสนใจช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และได้จัดส่งพันธุ์ไม้นานาชนิดมาให้ทดลองปลูก โครงการหลวงจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒
วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการก่อตั้งโครงการหลวงจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่ว่า
"… เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก


โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านห้วยหญ้าไซ จังหวัดเชียงราย


ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านห้วยหญ้าไซ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในการนี้ได้พระราชทานพระราชดำริแก่ นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ พระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ให้ดำเนินการสำรวจและจัดหาพื้นที่จัดตั้งเป็นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่

วัตถุประสงค์
1. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้ราษฎรมีความรู้สึกรัก และหวงแหนป่าไม้ที่มีอยู่และที่ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่
3. เพื่อให้ราษฎรเกิดความรู้สึกมีความมั่นคงในครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่
4. เพื่อให้แหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นที่มีอยู่ในโครงการและรอบๆ มีความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์ตลอดไป

ที่ตั้งโครงการ
หมู่บ้านห้วยหญ้าไซ หมู่ที่ 11 ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
1. สำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย2. สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ)

ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มตั้งแต่ปี 2542


ผลการดำเนินงานปี 2543 (กรมป่าไม้)
1. สำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนป่าไม้ลำลอง 10 กิโลเมตร
2. งานอำนวยการ 1 งาน
3. ปลูกป่าทั่วไป 500 ไร่
4. สร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 50 แห่ง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสื่อสาร และเทคโนโลยี


โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสื่อสาร และเทคโนโลยีจะเกี่ยวกับการปรับปรุงถนนหนทาง ทั้งในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เพื่อใช้สัญจรไปมาและนำสินค้าออกมาจำหน่ายภายนอกได้โดยสะดวก ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาม โครงการแรกคือโครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบันคือตำบลทับใต้) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนกระทั่งโครงการสะพานพระราม 8 ที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ได้รับความสะดวกยังผลสู่ภาพรวมของประเทศทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ ดังพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ความว่า

“สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้นสำคัญที่สุดคือถนนก็ต้องมีถนนที่เหมาะสมทีเครื่องควบคุมการจราจรไม่ใช่เรื่องของรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรมก็จะต้องให้ดีขึ้น คือหมายความว่าทำให้ถนนดีขึ้น ให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักสุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว ไม่ได้มีแผนผังเมืองที่จริงๆ จัง ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ได้ประโยชน์มากนักเพราะว่าคนไทย ตามชื่อคนไทย คืออิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวนี้ก็สร้างก็ไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่นอันนี้ก็เลยแก้ไม่ได้...”

โครงการพระราชดำริการยกร่องปลูกพืชในพื้นที่พรุ




ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวทางในการขุดยกร่องสำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด สำหรับเป็นตัวอย่างให้เกษตรกร ให้ขุดเอาหน้าดินสีดำซึ่งเป็นดินดีจากแนวคูน้ำไปเสริมหน้าดินบนสันร่อง ทำให้ได้หน้าดินดีหนามากขึ้น ดินด้านล่างที่ขุดขึ้นมาใช้เสริมสันร่องด้านข้าง กรดที่เกิดขึ้นจะถูกชะล้างลงไปยังคูน้ำด้านข้างได้ง่าย น้ำเปรี้ยวในคูน้ำ ต้องมีการถ่ายเทออกไป แล้วนำน้ำดีเข้ามาแทนที่อย่างสม่ำเสมอ


การดำเนินงาน

ก่อนขุดยกร่องต้องสำรวจความลึกของชั้นดินเลน เมื่อทราบแล้วให้ขุดลึกเพียงแค่ระดับดินเลน เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเติมออกซิเจน อาจจะทำให้ดินเป็นกรดจัดมากขึ้นขั้นตอนการขุดร่องพอสรุปได้ดังนี้ ก) วางแนวร่องให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่จะปลูก ซึ่งโดยทั่วๆ ไปสันร่องจะกว้างประมาณ 6 - 8 เมตร ส่วนท้องร่องกว้างประมาณ 1 - 1.5 เมตร ข) ระหว่างร่องที่จะขุดคู ให้ใช้แทรกเตอร์ปาดหน้าดินมาวางไว้กลางสันร่อง หน้าดินของดินเปรี้ยวจัด ส่วนใหญ่จะมีอินทรีย์วัตถุสูง และค่อนข้างร่วนซุย จึงมีประโยชน์มากหากจะนำมากองไว้ช่วงกลางสันร่อง มิฉะนั้นหน้าดินดังกล่าวจะถูกดินที่ขุดขึ้นมาจากคูกลบเสียก่อน ค) ขุดดินจากคูที่วางแนวไว้มากลบบริเวณขอบสันร่องที่หน้าดินถูกปาดออกไปแล้ว สันร่องจะสูงอย่างน้อย 50 ซม. เหมาะที่จะปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นต่างๆ ง) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมควรมีคันดินที่อัดแน่นล้อมรอบเพื่อป้องกันน้ำซึม มีระดับความสูงมากพอที่จะป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน จ) ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำเข้า - ออก เนื่องจากน้ำในคู หากปล่อยทิ้งไว้นาน 3 - 4 เดือน จะแปรสภาพเป็นกรดจัด จึงควรมีการถ่ายเทน้ำออก 3 - 4 เดือนต่อครั้ง แล้วสูบน้ำดีเข้ามาแทน ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมมาก ควรยกร่องเตี้ยๆ เพื่อพืชล้มลุกหรือพืชผักแทน โดยปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับการปลูกข้าว กล่าวคือปล่อยให้ท่วมร่องส่วนในฤดูฝน แล้วปลูกข้าวบนสันร่อง ก็จะช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายเพราะไม่จำเป็นต้องสูบน้ำออกพอพ้นฤดูฝนก็ปลูกพืชผักหรือพืชล้มลุกแทนสลับกันไป


การขยายผล

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำแนวพระราชดำริในการขุดยกร่องเพื่อปลูกพืชมาดำเนินการในแปลงทดลองของศูนย์ฯ จนประสบผลสำเร็จ สามารถปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล พืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้ และขยายผลดำเนินงานด้วยวิธีการนี้ไปสู่พื้นที่เป้าหมายได้แก่ พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ พื้นที่พรุบาเจาะ พื้นที่พรุกาบแดง บ้านโคกอิฐ - โคกใน บ้านโคกกระท่อม บ้านยูโย และส่งเสริมให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่สนใจในการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดในเขตจังหวัดอื่นๆ ด้วย

โครงการพระราชดำริการปรุงน้ำเปรี้ยว


ความเป็นมา

การดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำบางนราตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนรา สามารถป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกล้ำเข้าไปยังแม่น้ำบางนราได้ แต่การใช้น้ำเพื่อโครงการชลประทานในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำกลับประสบปัญหาคุณภาพน้ำเนื่องจากน้ำยังมีความเป็นกรดสูงมาก ในปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้ศึกษาหาวิธีการปรับสภาพน้ำเปรี้ยวก่อนที่จะส่งน้ำไปใช้ประโยชน์ในแปลงเกษตรกร ในขณะเดียวกันให้มีปูนละลายไปพร้อมกับน้ำในปริมาณสูงพอที่จะช่วยปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดด้วย เพื่อช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องใส่ปูนในแปลงนา อันเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก ช่วยลดภาระในการทำงานของเกษตรกร ทรงเรียกวิธีการปรับสภาพน้ำเปรี้ยวนี้ว่า "การปรุงน้ำเปรี้ยว"

ผลการดำเนินงาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดทำอาคารต้นแบบที่สถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาส โดยใช้หินปูนฝุ่นเป็นวัสดุปรับสภาพน้ำเปรี้ยว ให้น้ำเปรี้ยวไหลผ่านกล่องบรรจุหินปูนฝุ่นในแนวนอน จากการดำเนินงานพบว่า สามารถปรับน้ำเปรี้ยวที่มีค่า pH 3 ขึ้นไปถึง 6 ได้ นอกจากนี้ได้นำน้ำที่ปรับสภาพแล้วไปใช้ปลูกข้าวในดินเปรี้ยวจัด ข้าวที่ปลูกโดยใช้น้ำปรับสภาพนี้ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการใช้หินปูนฝุ่นใส่ลงโดยตรงในแปลงนา การปรุงน้ำเปรี้ยวโดยวิธีนี้จะช่วยประหยัดปริมาณการใช้หินปูนฝุ่นได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดแรงงานในการโรยหินฝุ่น ในปี พ.ศ. 2539 ได้นำผลการทดลองนี้มาใช้ปรับสภาพน้ำเปรี้ยวภายในแปลงทดลองซึ่งแต่เดิมน้ำเปรี้ยวจากแปลงทดลองจะถูกระบายทิ้ง ทางศูนย์ฯ จึงได้ก่อสร้างอาคารปรับสภาพน้ำเปรี้ยวขึ้นบริเวณใกล้กับคลองระบายน้ำ โดยดัดแปลงขนาดและหน้าตัดของกล่องบรรจุหินปูนฝุ่นให้ใหญ่ขึ้น น้ำเปรี้ยวที่ผ่านการปรับสภาพถูกส่งกลับไปใช้ในแปลงทดลองได้อีก เป็นการประหยัดทรัพยากรน้ำและลดปัญหาน้ำเปรี้ยวได้อย่างดี

การขยายผล

ในการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านยูโย งานชลประทานได้นำผลการทดลองนี้ไปใช้ในการปรับสภาพน้ำเปรี้ยวที่ระบายออกจากพื้นที่ในคลองบางเตย ต.บางขุนทอง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยสร้างคันหินปูนฝุ่นขวางลำน้ำในคลอง น้ำเปรี้ยวในคลองจะถูกปรับสภาพก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางนรา

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1. คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึงหรือร่วมกัน หรือความหมายอีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสาร

2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ ผู้ส่ง ” ไปยังอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ ผู้รับ ”

3. Sender _ Message _ Channel _ Receiver

4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด

5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมีตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น

6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกันตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง ฯลฯ

7. Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรูสึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่งตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร

8. Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ส่งมีวิธีการและเทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งบางทีเราเรียกว่า Style ในการสื่อสารตัวอย่าง เช่น การส่งสารโดยใช้เสียงเพลงเป็นตัวนำ หรือส่งโดยการอัดเทปข้อความในสาร

9. Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาดนตรี ภาพวาด กิริยา ท่าทาง

10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ

11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล

12. Encode หมายถึง ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส

13. Decode หมายถึง ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกใช้สื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้องการสื่อความหมายต้องมีองค์ประกอบดังนี้ครู คือผู้ส่งและกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบการสอนควรมีพฤติกรรมดังนี้
- เข้าใจเนื้อหาการสอนเป็นอย่างดี
- มีความสมารถในการสื่อความหมาย
- จัดบรรญากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เนื้อหา
-หลักสูตร ที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียนควรมีลักษณะดังนี้
- เหมาะสมกับเพศและวัย
- สอดคล้องกับเทคนิค วิธีการสอน
- เนื้อหา ควรปรับปรุงให้ทันสมัยสื่อหรือช่องทาง เป็นตัวกลางหรือพาหะ ควรมีลักษณะเป็นดังนี้
- สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัส
- เด่น สะดุดตา ดูง่าย สื่อความหมายได้ดีนักเรียน หรือผู้เรียน ในการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะดังนี้
- มีทักษะในการสื่อความหมาย
- มีความพร้อมทางจิตใจ
- มีความพร้อมทางร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้ง 5
- มีเจคติที่ดีต่อครูผู้สอนเนื้อหาวิชา

15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อสารในการเรียนการสอน
15.1 ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน
15.2 ครูผู้สอนไม่คำนึงถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
15.3 ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศ ขจัดอุปสรรคและสร้างความพร้อมให้แก่ผู้เรียนก่อนลงมือสอน15.4 ครูผู้สอนบางคนใช้คำยาก ทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจความหมาย
15.5 ครูผู้สอนมักเสนอเนื้อหาวกวน สับสน รวดเร็ว ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่อง กระโดดไปมา
15.6 ครูผู้สอนไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอนหรือเลือกใช้สื่อการสอนไม่เหมาะสมกับเนื้อหา

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 (ภาค 2 )

5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
- เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู(Teacher, Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ


6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด เทคนิควิธี กิจกรรม วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผลงานดีขึ้น หรือ เป็นที่พอใจมากขึ้น


7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)


8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น


9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
1. ศูนย์การเรียน ใช้ร่วมกับชุดการเรียนการสอน แบบเรียนสำเร็จรูป
2. การสอนแบบโปรแกรม
3. บทเรียนสำเร็จรูป
4. ชุดการเรียนการสอน
5. การเรียนการสอนระบบเปิด


10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ



11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย


12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3ประการ
1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
2. เรียนปนเล่น
3. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. การสอนเป็นคณะ

‘ถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษ’ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำได้ในครัวเรือน


“ถั่วงอก” จัดเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารมากมายหลายชนิด ในวงการแพทย์เชื่อว่าในถั่วงอกมีกากใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่ายและขับไขมันส่วนเกินซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญถั่วงอกมีวิตามิน ซีสูงมาก และถั่วงอกยังเป็นพืชผักที่สามารถทำบริโภคกันได้ในครัวเรือนโดยผลิตเป็นพืชผักปลอดสารพิษได้ง่าย แต่ที่ผ่านมาวิธีการเพาะถั่วงอกมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดจะได้ถั่วงอกที่มีรากติดมาด้วย ปัญหาเรื่องรากไม่สะดวกต่อการบริโภคทำให้เสียเวลามาเด็ดราก ในขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีมีเกษตรกรไทยที่ค้นหาวิธีการเพาะถั่วงอกแบบไร้รากและปลอดสารพิษเป็นผลสำเร็จ คุณสมร เทียมมงคล เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จ.ลพบุรี บ้านเลขที่ 196/2 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี ได้ใช้เวลานานหลายปีในการค้นหาวิธีในการเพาะถั่วงอกแบบตัดรากและเป็นรายแรกของเมืองไทยที่คิดค้นวิธีการเพาะถั่วงอกแบบนี้ โดยถั่วงอกที่เพาะได้ไม่ต้องไปเด็ดรากทิ้งอีก ได้ถั่วงอกที่มีความสด, กรอบและรสชาติอร่อยมาก


คุณสมรได้ให้คำแนะนำในการเพาะถั่วงอกแบบนี้เริ่มจาก การคัดเลือกเมล็ดถั่วเขียวจะต้องคัดเมล็ดที่ไม่สวยออก หลังจากนั้นนำเมล็ดมาล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ เทคนิคที่สำคัญก็คือจะต้องนำถั่วเขียวที่ทำความสะอาดแล้วมาแช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ 8 ชั่วโมง (วิธีเตรียมน้ำอุ่นให้ใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำเย็นธรรมดา 3 ส่วน) หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้งจนน้ำดูใสสะอาด อุปกรณ์ที่ใช้เพาะถั่วงอกแบบตัดรากจะใช้ตะกร้าพลาสติกที่มีปากกว้างประมาณ 15 นิ้ว และมีความสูงประมาณ 12 นิ้ว มีตาข้างรอบตะกร้าเพื่อเป็นรูระบายน้ำ หลังจากนั้นให้วางแผ่นตะแกรงพลาสติกเป็นฐานรองก้นตะกร้า ปูทับด้วยแผ่นกระสอบป่าน ปูแผ่นตะแกรงพลาสติกทับอีกที และโรยเมล็ดถั่วเขียวให้ทั่วตะแกรงหนาประมาณ 1.50 เซนติเมตร ถือว่าเสร็จสิ้น 1 ชั้น จากนั้นปูทับด้วยกระสอบป่านตามด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วโรยเมล็ดถั่วให้มีความหนาเท่าเดิม ทำซ้ำแบบนี้ 4 ชั้น แต่ในชั้นสุดท้ายเมื่อโรยเมล็ดถั่วเสร็จแล้ว หลังจากปิดทับด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วจะต้องปิดทับด้วยกระสอบป่าน 2 ผืนซ้อนกัน หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม นำตะกร้าไปใส่ในถุงดำที่ตัดมุมตรงก้นถุงออกแล้ว ทำการพับปากถุงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้อากาศและแสงเข้า นำไปวางไว้ในที่ร่มจะต้องรดน้ำ 3 เวลาเป็นอย่างน้อย (เช้า-กลางวัน-เย็น) รดน้ำจนครบ 3 คืน เช้าขึ้นมาอีกวันก็นำมาใช้ได้ โดยยกเอาแผงถั่วงอกมาแช่ในน้ำ ตัดเอาเฉพาะส่วนต้น ส่วนของรากทิ้งไป วิธีการนี้ง่ายมากเพราะรากของถั่วงอกจะแทงทะลุตะแกรงและกระสอบป่าน เราจะใช้มีดคม ๆ ตัดส่วนของต้นลงแช่น้ำ เทคนิคสำคัญตอนที่นำเอาถั่วงอกขึ้นจากน้ำ จะต้องผึ่งในตะกร้าสักพักเพื่อให้ถั่วงอกสะเด็ดน้ำแล้วรีบบรรจุลงถุงพลาสติกมัดยางให้แน่นโดยไม่ให้อากาศเข้า สามารถเก็บถั่วงอกไร้รากและปลอดสารพิษเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 5-7 วัน โดยถั่วงอกไม่เหลือง วิธีการเพาะถั่วงอกแบบนี้สามารถทำบริโภคได้ในครัวเรือน, ต้นทุนต่ำ และปลอดสารพิษ “คู่มือเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษ” พิมพ์ 4 สีมีแจกฟรี, เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ 15 บาท ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนน ศรีมาลา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000 โทร.0-5661-3021.

ที่จับแมลงวันแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

555 เมื่อวานดูสะเก็ดข่าวเค้าเสนอวิธีการทำที่จับแมลงวันแบบมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แต่ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านจริง ๆ วิธีการทำก็ง่ายมาก เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
ขวดน้ำอัดลมแบบลิตร 3 ขวด
เทปกาว
กับดัก (อาหาร)
ดูรูปประกอบ
วิธีการทำก้อง่ายแบบคิดไม่ถึงจิง ๆ
นำขวดที่1 มาเจาะรูเยอะแบบให้แมลงวันเข้ามาได้มาต่อกันขวดที่ 2 แล้วก้เอาขวดที่ 2 ไปต่อกันขวดที่ 3 ที่มีน้ำอยู่เพื่อให้แมลงวันตกลงไปตายชักดิ้นชักงอ 555(ทรมานสัตว์มาก แต่มันเป็นพาหะนำโรคนินา แล้วน่ารำคาญมาก)
นำขวดที่1ไป ครอบที่กำดักที่เราวางไว้
ดูผลการทดลองคับ
แมลงวันเมื่อเข้ามาดมกับดักของเรา มันจะไม่บินลงข้างล่างคับ มันจะบินขึ้นอย่างเดียว ดังนั้นมันก้อเข้าไปขวดที่2 เมื่อเข้าไปแล้วมันขึ้นต่อไปไม่ได้มันก้อจะหา รูอากาศซึ่งก้อเป็นขวดที่3 ที่นี่ก้อเสร็จละจิ ขวดที่3 ไม่มีทางออก มันก้อจะบินจนเหนื่อยแล้วตกมาตาย แงก ๆ
ที่นี้เราก้อไปแนะนำร้านขายอาหารที่ชอบเลี้ยงแมลงวันให้ลองทำแบบนี้ดูวันหยุด ดีกว่าเอากาวเหนียว ๆ มาประดับยังกับดอกไม้ คนกินก้อสดชื่นล่ะซิ

ภูมิปัญญาในการทำน้ำอ้อยของเกษตรกรในอำเภอพร้าว


น้ำอ้อยเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่ทำจากอ้อยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ไม่มากนักอำเภอพร้าวเป็นพื้นที่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกษตรกร ประกอบอาชีพ ทำน้ำอ้อยเป็นอาชีพ เสริมหลังการทำนาเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว เป็นอาชีพที่ทำกันมานานโดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่เครื่องมือและอุปกรณ์การพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ในสมัยก่อนใช้แรงงานสัตว์ช่วยในการหีบอ้อย เปลี่ยนเป็นใช้เครื่องยนต์แทน จากที่เคยปลูกอ้อยพันธุ์พื้นเมืองก็เปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตมากกว่าเดิม และทำเป็นก้อน น้ำอ้อยสมัยก่อนจะใช้วิธีตักหยอดที่ละก้อน ปัจจุบันก็ใช้วิธีเทลงบนแบบพิมพ์ ซึ่งทำได้เร็วกว่า และทำเป็นน้ำอ้อยผงตามที่พ่อค้าต้องการ การทำน้ำอ้อยถือได้ว่าเป็นการแปรรูป ผลผลิต ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยเกษตรกรเอง การแปรรูปอ้อยจะเริ่มตั้งแต่การปลูกอ้อยครั้งแรกในช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน พอครบ 1 ปีก็สามารถตัดอ้อยมาแปรรูปได้ อ้อยที่ปลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ นาน 3-4 ปี จึงจะรื้อปลูกใหม่ เกษตรกรจะตัดอ้อยให้พอหีบ หมดในแต่ละวันเท่านั้นการหีบอ้อยจะเริ่ม ตั่งแต่เช้ามืด เมื่อหีบเสร็จก็จะเริ่มเคี่ยวทันที โดยเคี่ยวในกะทะขนาดใหญ่ และใช้กากอ้อย ที่หีบเอาน้ำอ้อยออกแล้วไปตากให้แห้ง นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการเคี่ยวน้ำอ้อย ฉะนั้นถ้าฝนตก เกษตรกรก็จะหยุดหีบอ้อยเพราะไม่มีเชื้อเพลิงในการเคี่ยวน้ำอ้อย การทำน้ำอ้อยในอำเภอพร้าวจะมีเฉพาะพื้นที่ 2 ตำบลซึ่งเป็นเขตพื้นที่ติดต่อกัน คือ บ้านห้วยกุ บ้านป่าตุ้ม ตำบลป่าตุ้ม และบ้านสหกรณ์ ตำบลเขื่อนผาก ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประมาณเดือน ธันวาคม ถึงเดือน มีนาคม ของทุกปี สามารถเข้าไปดูกระบวนการแปรรูปอ้อย ของเกษตรกรได้ ซึ่งมีเหลืออยู่ไม่มากในปัจจุบัน

น้ำส้มควันไม้ ภูมิปัญญาชาวบ้านสร้างสารอินทรีย์

นายเชิด พันธ์เพ็ง แกนนำชุมชน จ.อยุธยาเล่าว่า ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกได้ทดลองทำสารสกัดน้ำส้มควันไม้ขึ้น จึงได้ชักชวนกันไปศึกษาดูงาน จากนั้นจึงได้ลงมือปฏิบัติทำน้ำส้มควันไม้ ภูมปัญญาชาวบ้าน สร้างสารอินทรีย์ขึ้นมา แรกเริ่มมีคนทำอยู่ 10 คน โดยชาวบ้านจะนำไม้ที่กรมทางหลวงตัดทิ้ง จากการตัดแต่งต้นไม้ริมถนนหรือใช้ไม้ในสวนบ้าง โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องทำครัวเรือน ไม่ให้ทำเป็นเชิงธุรกิจ เพราะจะทำให้ต้นไม้หมดไปได้ ถ้าไม่มีการปลูกทดแทน

ขั้นตอนในการทำน้ำส้มควันไม้ เริ่มจากก่ออิฐบล็อก กว้างและสูงประมาณ 1.5 เมตร และยาวประมาณ 2 เมตร นำถังน้ำมัน 200 ลิตรที่ตัดปากให้กว้างและเจาะปลายถังให้เท่ากับกระบอกไม้ไผ่ที่นำมาวางแล้วใส่ตะแกรง นำไม้ที่จะเผาใส่ลงไปในถังแล้วติดไฟจนคิดว่าเตาติดแล้วจึงปิดปากเตาพอประมาณฝ่ามือเพื่อปล่อยอากาศเข้าไป เมื่อดูแล้วควันเป็นสีน้ำตาลจึงนำไม้ไผ่ไปครอบไว้กับท้ายเตาเผาที่มีปล่องเจาะไว้เพื่อจะให้อากาศออก เมื่อความร้อนที่เผาไหม้ลอยออกทางปลายไม้ไผ่กระทบกับความเย็นรวมตัวกันเป็นหยดน้ำแล้วทิ้งไว้จนเตาเผาดับใช้เวลาประมาณ 24ชั่วโมง ก็จะได้น้ำส้มควันไม้ โดยเตาหนึ่งจะได้น้ำส้มควันไม้ประมาณ 5 ลิตร นำมาทิ้งไว้ให้ตกตะกอนประมาณ 3 เดือน จึงนำออกมาทดลองใช้ ส่วนถ่านที่ได้ก็สามารถนำไปขายถือว่าได้กำไรสองต่อ

จากการทดลองใช้น้ำส้มควันไม้กับพืช เช่นผักบุ้ง เริ่มตั้งแต่เตรียมดินแล้วฉีดยาพ่นตากดินทิ้งไว้จึงปลูกผัก เมื่อพืชแทงยอดอ่อนขึ้นมาจึงฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ลงไปอีกประมาณ 3 ครั้ง โดยอัตราส่วนที่ใช้น้ำส้มควันไม้ 20 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร จะไม่มีแมลงมารบกวนเลย ลำต้นจะแข็งแรงมาก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วน้ำหนักดี ทิ้งไว้ค้างคืนลำต้นจะไม่เหลือง รสชาดดี เป็นที่ยอมรับของตลาด

แปรรูปผลผลิตการเกษตร (กล้วยม้วนอบเนย)


ประวัติความเป็นมา
เดิมเป็นกล้วยฉาบแบบธรรมดาทั่วไป ผลิตจำหน่ายภายในหมู่บ้าน ต่อมากลุ่มได้รับการอบรม และศึกษาดูงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และเกษตรอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ในเรื่องการแปรรูปกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ กลุ่มจึงเกิดแนวคิดของกล้วยอบเนย กล้วยอบสมุนไพร กล้วยรสบาบีคิว


กระบวนการขั้นตอนการผลิต
ปอกเปลือกกล้วย ใสเป็นแผ่น นำมาม้วนทอดลงในน้ำมันให้เหลือง คลุกเคล้ากับเนยและเกลือป่น ผสมน้ำตาลทราย และบรรจุถุงจำหน่าย


จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ รสชาดอร่อย


ปริมาณการผลิต
250 กิโลกรัม/เดือน



ราคา
ขายส่ง กิโลกรัมละ 120 บาท ขายปลีกกิโดลกรัมละ 160 บาท


สถานที่จำหน่าย
299/205 หมู่ที่ 12 ถนนสุขสวัสดิ์ ต.ในคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 0-2816-2293
สนใจสั่งซื้อ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
0-2816-2293