วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 (ภาค 1)

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
- เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการ ปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1. เทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology)
2. เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology)
3. เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology)
4. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology)
5. เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology)
6. เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology)
7. เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology)
8. เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology)

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและทัศนะ ทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Media or Physical Science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
3.1 การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
3.2 ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3.3 วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
3.4 การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
1. บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน, 2529: 108)
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ ( Good. 1959: 191)
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ
- พลาโต ( Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต
- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี.2526 ซ 16)
- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ.2516:7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน(วีระ บุณยะกาญจน.2532:5)

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ต่อมาภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข้เพื่อให้รอดพันวิกฤตการณ์ และ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่นยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนทุกระดับ ตั่งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ ก้าวทันโลกยุตโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียงหมายถึง ความประมาณ ความมีเหตุ รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรแก่การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในประเทศ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และมีความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้อย่างดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540 ซึ่งได้มีการขานรับนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติกันหลายหน่วยงาน แต่คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีนี้ ทรงได้มีมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมว่า
". . . ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ. . ."
จากนั้น ได้ทรงขยายความ คำว่า "พอเพียง" เพิ่มเติมต่อไปว่า หมายถึง "พอมีพอกิน"
". . . พอมีพอกิน ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี. . ."
". . . ประเทศไทยสมัยก่อนนี้ พอมีพอกิน มาสมัยนี้อิสระ ไม่มีพอมีพอกิน จึงจะต้องเป็นนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้ทุกคนพอเพียงได้ พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. . ." ทรงเปรียบเทียบคำว่า พอเพียง กับคำว่า Self-Sufficiency ว่า
. . Self-Sufficiency นั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง. . . เป็นไปตามที่เค้าเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง. . . . . คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของ เกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนว พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้ . . . แต่ว่าพอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง. . ." ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล

โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทาน

(งานพัฒนาลำห้วยบ่อแดง ลำห้วยซาง)


จ.สกลนครสถานที่ดำเนินการ บ้านจาร หมู่ที่ 5 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร



พระราชดำริ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 นางประเพ็ญ ปลัดกอง กำนันตำบลม่วง นายศูนย์ทอง สมใจ กำนันตำบลหนองกวั่ง และนายจำปา สุวรรณไตร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงได้ร่วมกันกราบบังคมทูลถวายรายงานเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มในเขตจังหวัดสกลนคร และขอพระราชทานพระมหากรุณา ขอสร้างฝายกั้นน้ำห้วยบ่อแดง เนื่องจากในฤดูฝนน้ำในลำห้วยบ่อแดงและห้วยซางไหลเร็วทำให้มีน้ำไม่เพียงพอทำการเกษตรในฤดูแล้ง ดังนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จึงมีพระราชดำริให้จัดหาแหล่งน้ำในลำห้วยบ่อแดง ตามความเหมาะสม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการอุปโภค-บริโภค ของราษฎร รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์
2. เป็นการพัฒนาลุ่มน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็มให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้เต็มศักยภาพ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ เป็นโครง การที่เริ่มทำการศึกษาและวางโครงการขึ้นตามแนวพระราชดำริในพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้น จึงพิจารณาดำเนินการก่อสร้างให้ สอดคล้องเพิ่มเติมนอกเหนือจากแผนงานพัฒนาหลักของแต่ละหน่วยราชการที่กำ หนดไว้ตามความเหมาะสม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรฯ เป็นงานส่วนใหญ่ของ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามพระราชดำริ โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงาน หลักทำการก่อสร้างสนองพระราชดำริ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนจนสามารถสนองความต้องการขั้นพื้น ฐานของราษฎร ในการจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในท้องที่ซึ่งขาด แคลนน้ำให้มีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกพืช สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนจัด หาน้ำให้กับราษฎรในเขตโครงการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอีกด้วย


มูลนิธิชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา"เพื่อสนับสนุน การช่วยเหลือประชาชน ในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การดำเนินงานนั้นๆถูกจำกัดด้วย เงื่อนไขดังที่ได้กล่าวไว้แล้วหรือดำเนินงาน ในลักษณะอื่นใด ที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วและไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคล ตามเลขทะเบียนลำดับที่๓๙๗๕ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๙ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรและโครงการพัฒนาอื่น ๆ
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสงเคราะห์และ ช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและให้สามารถช่วย ตัวเองและพึ่งตนเองได้
3. ดำเนินการใดๆอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม
4. ร่วมมือกับส่วนราชการและ องค์กรการกุศล อื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง

แนวทางการดำเนินการ
การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จะเน้นกิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อน กับแผนงาน โครงการของรัฐที่มีอยู่แล้วแต่จะพยายาม สนับสนุน ส่งเสริม และ ประสานการดำเนินงานเพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับสถานการณ์โดยเฉพาะ ในกรณีที่โครงการของรัฐ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไข ของกฏระเบียบต่างๆอันเป็นผลทำให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีเช่นในกรณีที่อาจต้องจัดซื้อที่ดินจากราษฎรบางส่วน เพื่อดำเนินงานตามโครงการหนึ่งแต่รัฐมีปัญหา ด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อหรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ หรือ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆทำให้ดำเนินการจัดซื้อไม่ได้ หรือต้องตั้งงบประมาณจัดซื้อ ใน ๑-๒ ปีข้างหน้าซึ่งจะทำให้โครงการล่าช้าไป เป็นต้นในกรณีเช่นนี้มูลนิธิชัยพัฒนา จะได้ช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพื่อให้โครงการนั้นๆ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการดังตัวอย่างข้างต้นอาจนับได้ว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ ของแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะเป็นนิติบุคคลสาธารณประโยชน์ที่จะเข้ามาประสานงานร่วมมือสนับสนุน โครงการพัฒนาของรัฐ อย่างสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้โครงการที่มีปัญหานั้นๆสามารถดำเนินงานไปได้ โดยก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และประเทศชาติ อย่างเต็มที่

โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์

โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทานเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2510 เพื่อตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น ต่าง ๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก
โครงการหน่วยทันตกรรมพระราชทานตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับความ ร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม
แพทย์พระราชทาน (แพทย์ประจำพระองค์)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มา รอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก


หน่วยแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส นิคมนี้มีสถานีอนามัย เพียงแห่งเดียว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นประจำ
โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช ประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์ มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ แปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ในด้านศัลยกรรม และ รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์และ เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
โครงการแพทย์หู คอ จมูกเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยอาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์ เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2524 เพื่อรักษาพยาบาลราษฎรยากจนที่เจ็บป่วย และไม่สะดวกที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลได้ โดยติดต่อแพทย์ จากโรงพยาบาลส่วนกลาง และรับแพทย์อาสาสมัครมาปฏิบัติงานที่ค่ายกาวิละ ในระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานประทับแรมอยู่ที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ มี โครงการตามพระราชดำริ 2 โครงการ คือ คณะแพทย์พระราชทาน การอบรม หมอหมู่บ้าน

โครงการหลวง

จากการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรในภาคเหนือทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชาวเขาหลายหมู่บ้าน บริเวณดอยปุย เมื่อกว่า ๒๐ ปีมานี้ ทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย
ก่อนที่จะจัดตั้งโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรตามหมู่บ้านชาวเขาบริเวณดอยปุย ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น และทรงทราบว่าชาวเขาส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้นมีอาชีพทำไร่เลื่อนลอย มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร และนำความเสียหายไปสู่ส่วนอื่นของประเทศอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงได้ทรงสนับสนุนงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาว โดยได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒ แสนบาท สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า สวนสองแสน) พร้อมทั้งทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตานุทูตพิจารณาให้ความช่วยเหลือ อันเป็นผลให้หลายประเทศให้ความสนใจช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และได้จัดส่งพันธุ์ไม้นานาชนิดมาให้ทดลองปลูก โครงการหลวงจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒
วัตถุประสงค์และประโยชน์ในการก่อตั้งโครงการหลวงจะเห็นได้จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่ว่า
"… เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องที่ช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับ การปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก